top of page

ขอขอบคุณที่ไว้วางใจให้หมอคณินทร์ ดูแลการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนสามารถฟื้นตัวได้เร็ว กลับไปเดิน หรือใช้งานข้อเข่าให้ได้ดีกว่าตอนก่อนผ่าตัด และใช้งานข้อเทียมได้ตลอดอายุการใช้งาน การดูแลและปฎิบัติตัวมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ครึ่งหนึ่งของความสำเร็จเกิดจากผู้ป่วยตั้งใจบริหาร ดูแลตัวเอง ตามคำแนะนำ

บทความในหน้านี้เป็นคำแนะนำในการดูแลตัวเอง เมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อ หมอคณินทร์ ได้เลยครับ

ดูแลหลังผ่าตัด

ข้อเทียม

"หมอตั้งใจให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทุกคนเดินได้ดี และใช้ข้อเทียมไปได้นาน 15-20 ปี

การดูแลหลังผ่าตัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ"

การดูแลแผลผ่าตัด

  • หลังจากออกจากโรงพยาบาล แผลผ่าตัดจะปิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ ซึ่งสามารถอาบน้ำได้ โดยให้น้ำไหลผ่าน โดยไม่ต้องฟอกสบู่บริเวณพลาสเตอร์ เพราะอาจจะทำให้กาวหลุดลอกออกมาได้

  • ถ้าแผลมีเลือดซึม หรือน้ำเข้าแผล สามารถเปลี่ยนแผลที่สถานีอนามัย หรือสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านได้ และนำพลาสเตอร์สำรองไปด้วยเพื่อปิดแผลใหม่

  • ถ้าแผลแห้งดี หรือซึมเล็กน้อยเป็นจุดๆ ไม่ต้องเปลี่ยนแผล ค่อยมาเปิดแผลวันนัด หรือ 14 วันหลังผ่าตัด

ควรติดต่อหมอคณินทร์ เมื่อไหร่

  • มีบวมแดง ร้อน รอบแผล 

  • แผลมีน้ำเหลือง หรือเลือดซึมเยอะ

ลักษณะแผลที่แห้งดี

A7308014-5146-40A5-B5EE-B8CA7886807B cop

การเหยียดงอข้อเข่า

การเหยียดเข่าได้ตรง งอเข่าได้สุด จะทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้สะดวก โดยเฉพาะการขึ้นลงบันได 

"ช่วงเวลาทองในการฝึกคือ 3 เดือนแรกเท่านั้น

ยิ่งทำได้เร็ว อาการปวดก็จะหายได้เร็วด้วย"

เหยียดเข่าตรง

  • ฝึกโดยการนั่งเก้าอี้ และใช้เก้าอี้อีกตัวรองใต้ข้อเท้า หรือปลายขา 

  • ออกแรงกล้ามเนื้อต้นขาเพื่อให้เข่าเหยียดตรง ค้างไว้ 10 วินาที

  • สามาถใช้มือช่วยออกแรงกดบริเวณเข่าร่วมด้วยได้

งอเข่าสุด

  • ฝึกโดยการนั่งเก้าอี้

  • ใช้ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าช่วยกดขาข้างที่ผ่าตัด ให้สอดไปใต้เก้าอี้ เพื่อช่วยให้งอเข่าได้สุด

การใช้งานข้อเข่าหลังผ่าตัด

  • ข้อเข่าเทียมสามารถเหยียบลงน้ำหนักได้เต็มที่ 

  • อุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) ใช้ในช่วงแรก เพื่อป้องกันการหกล้ม และช่วยบรรเทาอาการปวดขณะเดินในช่วงแรก

  • หากผู้ป่วยสามารถเดินลงน้ำหนักได้เต็มที่ โดยที่ไม่เจ็บแล้วสามารถปล่อยไม้เท้าได้เลย

  • สามารถออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานได้ตั้งแต่หลังผ่าตัด โดยเริ่มจากการปั่นอยู่กับที่ แรงฝืดน้อยๆ ก่อนครับ การปั่นจักรยานช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่า และช่วยการเหยียดงอเข่าได้อีกด้วย

  • ในช่วง 1-2 เดือนแรกอาจจะมีขาบวมได้ หากเดินหรือยืนนาน สามารถบรรเทาอาการขาบวมได้โดยการนอนยกขาสูง 

ควรติดต่อหมอคณินทร์ เมื่อไหร่

  • เดินแล้วมีอาการเจ็บมากขึ้นทุกวัน 

  • เหยียดงอเข่าไม่ได้

  • ขาบวม ร่วมกับอาการปวด ที่นอนพัก ยกขาสูงแล้วอาการไม่ดีขึ้น

วิธีการป้องกันการติดเชื้อ

​เนื่องจากข้อเข่าเทียม ทำจากวัสดุเทียมที่มีความปลอดกัย และไม่กระตุ้นให้เกิดการต่อต้าน แต่ข้อเทียมเหล่านี้สามารถติดเชื้อได้ง่าย เมื่อเทียบกับเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ระวังอย่าให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณอื่นเช่น แผลติดเชื้อ ตุ่มหนอง กระเพาะปัสสาะวอักเสบ ซึ่งจะทำให้เชื้อโรคจากที่อื่นมาสู่ข้อเทียมได้

ควรรับประทานยาฆ่าเชื้อ ก่อนทำหัตถาร หรือทำฟัน โดยแจ้งแพทย์ หรือทันตแพทย์ที่ดูแลให้ทราบว่าผู้ป่วยได้รับการใส่ข้อเทียม โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรก หลังผ่าตัด 

หัตถการที่ควรรับประทานยาฆ่าเชื้อก่อนได้แก่

  • การทำฟัน

  • การส่องกล้องทางเดินอาหาร หรือทางเดินปัสสาวะ

  • การใส่สายสวนหัวใจ

นัดติดตามดูอาการ

เนื่องจากข้อเข่าเทียมมีการสึกหรอจากการใช้งาน หรืออาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ การมาตามนัดเพื่อติดตามดูอาการ จะทำให้คุณหมอสามารถวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนได้ทันท่วงที

ในช่วงแรกการนัดหมายจะนัดบ่อย หากอาการดีเป็นปกติก็จะนัดห่างขึ้นเรื่อยๆ

  • นัด 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด และการขยับของข้อเข่า

  • นัด 6 สัปดาห์หลังผ่าตัด เพื่อตรวจการรขยับของข้อเข่า 

  • นัด 3 เดือนหลังผ่าตัด เพื่อดูการใช้งานข้อเข่าของผู้ป่วย 

  • นัด 6 เดือน, 1 ปี และทุก 1 ปี หลังผ่าตัด เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อน และการสึกหรอของข้อเทียม

เมื่อไหร่ควรมาก่อนนัด

  • เข่าบวม แดง ร้อน มีไข้

  • ขยับข้อเข่าได้น้อยลง

  • เกิดอุบัติเหตุบริเวณที่ผ่าตัด

  • เดินแล้วไม่มั่นคง เหมือนมีอาการเข่าหลุด

Link อ่านเพิ่มเติม

bottom of page